อาหารบำรุงเลือด

อาหารบำรุงเลือด

อาหารบำรุงเลือด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


เพียงแค่ดื่มน้ำส้มหนึ่งแก้วในระหว่างมื้ออาหาร ก็ช่วยบำรุงเลือดคุณได้
ชาและกาแฟขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย แต่วิตามินซีช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น

 

เมื่อร่างกายขาดธาตุเหล็กก็จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วง ขาดสมาธิ ซีดเซียว และเส้นผมหลุดร่วงโดยที่เราไม่รู้ตัว และกว่าโรคจะปรากฏให้เห็น การขาดธาตุเหล็กก็ส่งผลกระทบแล้ว คุณจึงควรตรวจเช็กสักครั้งเมื่อมีอาการดังกล่าวโดยไม่รู้สาเหตุ เพราะเกือบหนึ่งในสองของผู้หญิงมักมีธาตุเหล็กต่ำเกินไป ทั้งนี้ คนแทบไม่เชื่อว่าการขาดธาตุเหล็กคือภาวะที่เกิดขึ้นมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะผู้หญิงในประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งผู้หญิงมักสูญเสียแร่ธาตุไปกับเลือดประจำเดือน เพราะผู้หญิงบางคนมีเลือดประจำเดือนครั้งละครึ่งลิตร ซึ่งตามปกติของการเสียเลือดประจำเดือน 50 มิลลิลิตร ก็เท่ากับสูญเสียธาตุเหล็กประมาณ 15-30 มิลลิกรัม หรือบางคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์อาจสูญเสียมากกว่านี้ จึงทำให้การเก็บกักธาตุเหล็กไม่สมบูรณ์

อาหารที่เป็นศัตรูของธาตุเหล็ก
ชาและกาแฟขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก วิธีที่จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีคือ หลังมื้ออาหารให้กินผลไม้ที่มีวิตามินซี เช่น ส้มหนึ่งผล

อาหารที่มีธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็กจากพืชผักและผลไม้มักละลายยาก ส่วนใหญ่มักติดอยู่กับคาร์โบไฮเดรตและมีเพียวเศษเสี้ยวเท่านั้นที่เข้าไปในกระแสเลือด นอกจากนี้ อาหารบางชนิดที่เรารับประทานอยู่ทุกวันยังไปขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น แคลเซียมจากผลิตภัณฑ์นม โพลีฟีนอยด์ (ถั่วเปลือกแข็ง) ไฟเตท (ธัญพืชและถั่ว) ฟอสเฟต (น้ำดำ ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ชาและกาแฟ) วิธีที่จะช่วยทำให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีก็คือ ดื่มน้ำส้มหนึ่งแก้วในระหว่างทานอาหาร อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงอย่างเช่น เนื้อแดง ปลา เป็ด และไก่ วิธีป้องกันการขาดธาตุเหล็กก็คือ ควรกินเนื้อสัตว์สัปดาห์ละ 3 ครั้ง

บุคคลที่ต้องใส่ใจ
นักมังสวิรัติ สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร สตรีมีรอบเดือนต้องกินอาหารที่มีธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นซึ่งบางครั้งก็ค่อนข้างยาก หากจำเป็นก็ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายธาตุเหล็กสำเร็จรูป ปกติผู้หญิงในวัย 15-50 ปีควรได้รับธาตุเหล็กประมาณ 15 มิลลิกรัม ส่วนผู้หญิงวัยมากกว่า 50 ปี ควรได้รับวันละ 10 มิลลิกรัม ส่วนผู้ที่ไม่ขาดธาตุเหล็กก็ไม่ควรเติมธาตุเหล็กสำเร็จรูปให้ร่างกายอีก เพราะร่างกายขจัดออกไม่ได้และเมื่อมีมากเกินไปก็จะเป็นอันตรายต่อตับ

 

 

ขอบคุณภาพประกอบ : Getty Images

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook