เมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 9

เมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 9

เมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 9
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

เดือนที่ 9

ลักษณะลูกน้อย
ลูกมักนอนช่วงเช้ากับช่วงบ่าย ช่วงละ 1-2.5 ชั่วโมง บางคนอาจไม่นอนช่วงเช้า เด็กที่กลางคืนตื่นแล้วนอนยาก เด็กกินนมขวดอยู่แล้ว พอถึงวัยนี้มีน้อยคนที่ยังกินนมมื้อดึกอยู่ แต่ถ้าร้องกวนกลางคืน เมื่อให้ดูดนมจากขวดแล้วหลับได้ง่ายก็ให้นมมื้อดึกต่อไปได้บ้าง

ส่วนเรื่องการขับถ่ายของลูกนั้น เมื่อลูกได้รับอาหารเสริมมากขึ้น อุจจาระมีกลิ่นเหม็นขึ้น สีจะเปลี่ยนลูกจะถ่ายวันละ 1-2 ครั้ง หรือ 2 วันต่อครั้ง สำหรับปัสสาวะ ยังถ่ายประมาณวันละ 10 ครั้ง จำนวนครั้งที่ปัสสาวะกลางคืนจะต่างกัน เด้กที่กินน้อยมักจะปัสสาวะน้อย บางคนไม่ปัสสาวะเลยจนถึงเช้า เด็กที่กินนม 1 ขวดก่อนนอน มักจะปัสสาวะตอนกลางคืนประมาณ 1-2 ครั้ง เด็กคนไหนที่พอนอนเปียก จะตื่นมาร้องกวน เปลี่ยนผ้าอ้อมให้แล้วก็ไม่ยอมนอนต่อง่ายๆนั้น อาจเลื่อนเวลาให้นมก่อนนอนให้เร็วขึ้น และก่อนที่คุณแม่จะนอนให้จับลุกขึ้นมาปัสสาวะเสียครั้งหนึ่งก็อาจช่วยได้บ้าง สีปัสสาวะจะเข้มขึ้น


เลิกอมข้าวได้แล้ว
เมื่ออายุไม่เกิน 8 เดือนจะเริ่มไม่ชอบอาหารเละๆ มักชอบกินของที่ต้องขบเคี้ยว ผลไม้ก็ควรแบ่งหั่นเป็นชิ้นๆ เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล มะม่วง ให้ถือกัดกิน วัยนี้ไม่ค่อยอยู่นิ่ง ถ้าให้นั่งกับพื้นคงต้องวิ่งไล่ป้อน ควรให้นั่งในโต๊ะอาหารสำหรับเด็ก หรือเก้าอี้หัดเดิน ส่วนเวลาในการให้อาหารขึ้นอยู่กับนิสัยเด็ก บางคนชอบกินช้า บางคนกินเร็ว แต่ถ้ากินช้าเกิน กว่าจะกินข้างต้มหมดถ้วย ต้องเสียเวลาป้อนเป็นค่อนชั่วโมง แสดงว่าลูกไม่ชอบทานอาหารนั้น จะอมไม่ยอมกลืน เพราะรู้สึกว่าไม่อร่อย คุณแม่ก็ไม่ป้อนอยู่จนเกินครึ่งชั่วโมง ควรให้ลูกกินอย่างอื่นแทนดีกว่า


เป็นเด็กช่างเลือก
ลูกวัยนี้จะเห็นได้ชัดขึ้นว่าชอบกินอะไร บางคนไม่ชอบกินผัก ก็ควรให้กินรวมกับของอื่นๆ เช่น สับผักใส่ข้ามต้ม ปนในไข่เจียว ไข่ตุ๋น ดดยไม่บังคับ หรือถ้าไม่ชอบกินผักชนิดนี้ก็เลี่ยงมากินชนิดอื่น ถ้าไม่ยอมกินผักเลยก็ให้กินผลไม้แทน ถ้าลูกยังกินข้ามต้ม ขนมปัง นมแม่หรือนมวัวก็ได้ ถึงจะเลือกกินก็ไม่ทำให้เป็นโรคขาดสารอาหาร ลูกไม่ชอบกินไข่ก็ให้กินไก่แทน ไม่ชอบทั้งไก่ทั้งไข่ ก็ให้กินปลาแทน ลูกช่างเลือกมักไวในรสชาติ ถ้ามั่นใจว่าลูกไม่ได้กินน้อยจนถึงกับขาดสารอาหารไม่ควรบังคับมากเกินไป


อาการที่อาจเกิดขึ้น
• ระวังปอดบวม

o เมื่อลูกเป็นจะมีอาการไข้สูง หายใจลำบาก เวลาไอจะเจ็บปวด ปัจจุบันเด็กไม่ได้รับอันตรายจากโรคนี้แล้ว ถ้าเกิดจากเชื้อไวรัสก็มักจะหายได้เอง คุณหมอจะให้ยาปฏิชีวนะถ้าลุกมีอาการปอดอักเสบ ในรายที่เป็นไม่มากอาจรักษาที่บ้านได้ ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาล ถ้าลูกกินอาหารได้ก็ให้อาหารเสริมต่อไป ดื่มน้ำผลไม้สดมากๆถ้าไอ มากให้อุ้มพาดไหล่ ตบหลังเบาๆ จะช่วยให้เสมหะหลุดออกง่ายกว่าให้นอนราบบนเตียง แต่ถ้าติดเชื้อ Staphylococcus ที่ดื้อยาปฏิชีวนะ ปอดบวมที่เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดจากผู้ใหญ่ ต้องเข้าโรงพยาบาลรักษา


ถึงเวลาอาหารเสริม
• ตัวอย่างอาหารเสริม

เด็กที่ได้รับ อาหารเสริมตามตารางนั้นจะกินข้าววันละ 2 มื้อ และนมอีก 3 มื้อตามตัวอย่างดังนี้
7.00 น. นม 1 ขวดกับขนมจำพวกแป้ง เช่น ขนมปังกรอบ
11.00 น. ข้าวต้มประมาณ 1 ถ้วย ผักบด 2-3 ช้อนคาว ไข่ แกงจืด
15.00น. นม 1 ขวดกับผลไม้
18.00น. ข้าวต้มครึ่งถึงหนึ่งถ้วย ปลาหรือเนื้อบด 2-3 ช้อนคาว หรือเต้าหู้ 2-3 ช้อนคาว ผัก ซุป
21.00น. นม 1 ขวด


เด็กที่ไม่ชอบกินนมจะกินข้าวมากกว่า ควรเน้นให้ไข่ปลา หรือเต้าหู้ให้มาก เพื่อไม่ให้ขาดโปรตีน ส่วนใหญ่ยังดูดนมจากขวด แต่นมมื้อหลังอาหาร อาจจะให้ดื่มจากถ้วยก็ได้ ส่วนผลไม้ แทนที่จะให้น้ำผลไม้คั้น ควรให้เป็นชิ้นเล็ก แต่ต้องแกะเอาเมล็ดออก เช่น มะละกอ ส้ม แตงโม น้อยหย่า ละมุด สับปะรด สตรอเบอรี่ เด้กที่มีฟันล่างแล้ว และกำลังคันเหงือกอยู่ อาจชอบแทะผลไม้แข็งๆ เช่น ชมพู่ ฝรั่ง แอปเปิ้ล เป็นต้น


ดูแลลูกให้ถูกกับสภาพอากาศ
ช่วงหน้าร้อนบางคนอาจเบื่ออาหาร กินได้น้อยลงนมก็ไม่ค่อยกิน ถ้าลูกแข็งแรง ร่างเริงดีก็อย่าได้กังวลอาจให้กินนมเย็นๆ หรือไอศกรีมบ้างก็ได้ บางคนเหงื่อออกมาก นอนจนเปียกชุ่มควรเปลี่ยนชุดนอนให้ใหม่ ถ้านอนที่นอนยางหรือพลาสติกควรปูผ้าเช็ดตัวไว้ที่ให้ผ้าปูที่นอนจะช่วยซับเหงื่อได้บ้าง ลูกมักไม่ชอบนอนผ้าห่มผ้า ถึงจะห่มให้ก็เตะออกหมดก่อนนอนตอนกลางคืนใช้ผ้าขนหนูคลุมหน้าอกกพอ ส่วนชุดนอนเด็กควรเลือกที่มีกระดุมติดกับเสื้อกับกางเกง เวลานอนดิ้น เสื้อไม่เปิดขึ้นมา


ระวังอุบัติเหตุ
ลูกมักเกิดอุบัติ เช่น ตกเตียง ถ้าตกลงบนพื้นนุ่มๆก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นพื้นซีเมนต์ก็อันตราย ต้องระวังให้ดี รวมถึงของร้อนที่ลูกมักชอบดึงผ้าปูโต๊ะลากกาน้ำร้อนน้ำชาลงมาลวกได้ เก็บของเหลี่ยมๆแข็งๆ แหลมคมให้หมด อย่าวางน้พยาล้างพื้น ล้างท่อ ยาฆ่าแมลง ผงซักฟอก บนพื้นให้เก็บไว้ที่สูง ถ้าใช้รถเข็นเด็กต่อจากคนอื่นก็ตรวจน็อตให้ดี ถ้าช่วยให้ฝึกลูกเดิน เช่น จับมือลูกลุกยืน จูงเดิน อย่าจับแขนข้างเดียว เพราะอาจเซล้มได้ง่าย รวมทั้งห้ามไม่ให้ลูกอมช้อนส้อม เพราะอาจหกล้มทิ่มปากบาดเจ็บได้


พัฒนาการของหนู
• ร่างกาย

o บางคนอาจคลานขึ้นบันได้ได้
o เวลาคลาน มือใดมือหนึ่งถือของเล่นได้
o บางคนนั่งลงจากท่ายื่นได้
o ลุกขึ้นนั่งเองได้ นั่งได้นานกับพื้นและนั่งบนเก้าอี้
o ชอบปรบมือ เอาของเล่นเคาะกัน โยนของเล่นลงพื้น
o ชอบใช้นิ้วแหย่รู แงะของ
o สามารถต่อบล็อคได้ 2 ชั้น

• สังคม
o บางคนพูดคำที่มีความหมายได้ เช่น มา บาย และชอบพูดซ้ำๆ
o ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น หยิบของเล่น
o กลัวคนแปลกหน้า เมื่อเห้นเด็กคนอื่นร้องไห้ อาจร้องไห้ตาม
o เลือกของเล่นที่ตัวเองชอบได้
o จำเกมที่เคยเล่นได้

• เล่นกับหนูหน่อย
o การฝึกลูกยืน

การฝึกลูกยืนหรือก้าว อาจใช้มือจับมือแม่โดยตรงแล้วช่วยดึงให้ลูกก้าวมาข้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 5 นาที เวลาฝึกควรฝึกนอกบ้านช่วงที่อากาศดี คุณแม่ควรสนุกไปกับการฝึก เด็กคนไหนที่พอจะลุกขึ้นยืนเองได้ แล้วถ้าร้องเชียร์ว่า "ตั้งไข่ๆ" เด็กก็จะสนุก มีกำลังใจ ถึงล้มก็จะพยายามลุกขึ้นมาได้อีก

o เตรียมของเล่น
วัยนี้ใช้มือได้ดีจึงชอบเคาะแล้วเกิดเสียง เช่น กลอง ระนาด ของเล่นที่ช่วยฝึกคลาน หรือเกาะเดิน คือ ของเล่นไขลาน รถยนต์ รถไฟ สัตว์ที่เดินได้ ไม่ควรให้ลูกเล่นของเล่นที่ทำจากสังกะสี ควรให้เล่นไม้ต่อ บล็อคขนาดใหญ่ ถึงยังต่อไม่ได้แต่เอามาเรียงกันได้ส่วนการเล่นในบ้านก็ไม่ควรให้นั่งเล่นอยู่แต่ในเตียง ให้ปีนกองที่นอน หรือนั่งในกล่องแข็งแล้วลากเข็น วิ่งไปมา ลูกจะสนุกได้

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook