10 อันดับผู้นำหญิงของโลก

10 อันดับผู้นำหญิงของโลก

10 อันดับผู้นำหญิงของโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ ผู้หญิงมีความสามารถในการทำงานเกือบทุกเรื่องเท่าเทียมกับผู้ชาย เรียกว่าสามารถทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชายได้ทีเดียว

การก้าวขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าของ "ผู้หญิง" ได้รับการยอมรับมากแค่ไหนในยุคปัจจุบัน ลองมาดูทำเนียบต่อไปนี้ค่ะ

 

อันดับที่ 10 Laura Chinchilla
ลอร่า ชินชิลล่า (Laura Chinchilla) วัย 50 ปี เพิ่งชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสาธารณรัฐคอสตาริก้า เธอจะเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของคอสตาริก้า และจะถูกนับเป็นประธานาธิบดีหญิงคนที่ห้าของกลุ่มประเทศละตินอเมริกาที่มี ประธานาธิบดีหญิงมาก่อนหน้านี้แล้ว คือ นิคารากัว ปานามา ชิลี และอาร์เจนติน่า และทั้งหมดนี้มาจากการเลือกตั้งทั้งสิ้น อย่าง ไรก็ตาม กล่าวกันว่า ลอร่า ชินชิลล่า ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของสาธารณรัฐฯ ได้รับการสนับสนุนจากนายออสการ์ อาเรียส ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน และเธอจะเป็นผู้สานต่อนโยบายเศรษฐกิจของเขา โดยเฉพาะนโยบายตลาดเสรี และการค้ากับจีน นอกจากนี้ ลอร่า ชินชิลล่า ยังมีแนวคิดทางสังคมแบบอนุรักษ์นิยมในบางประเด็น เช่น คัดค้านการทำแท้ง และการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน แต่นักโทษหญิงวัย 24 ปี คนหนึ่งที่ลงคะแนนเสียงให้ลอร่า ชินชิลล่า บอกว่า "ฉัน เลือกลอร่า ชินชิลล่า เพราะเธอสัญญาว่าเธอจะต่อสู้เพื่อผู้หญิง เธอเป็นคนเดียวที่มาเยี่ยมพวกเราและบอกพวกเราเกี่ยวกับนโยบายของเธอ และฉันเชื่อเธอ"

 


อันดับที่ 9 Kamla Persad-Bissessar

Kamla Persad-Bissessar ประธานาธิบดีของตรีนิเดด

 


อันดับที่ 8 Tarja Halonen
ตารยา การินา ฮาโลเนน (ฟินแลนด์: Tarja Kaarina Halonen Loudspeaker.svg [tɑrjɑ kɑːrinɑ hɑlonen] เป็นประธานาธิบดีของประเทศฟินแลนด์คนที่ 11 และคนปัจจุบัน ฮาโลเนนเข้ารับตำแหน่งสมัยแรกในปีพ.ศ. 2543 โดยเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศ และได้รับเลือกอีกครั้งในปีพ.ศ. 2549 ก่อนหน้านี้ ฮาโลเนนเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศ ฮาโลเนนสังกัดพรรคสังคมประชาธิปไตยฟินแลนด์ (Suomen Sosialidemokraattinen Puolue)

 


อันดับที่ 7 Ellen Johnson Sirleaf
Ellen Johnson-Sirleaf ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนมกราคม 2549 (ค.ศ. 2006) จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ นาง Johnson-Sirleaf เป็นบุคคลซึ่งได้รับการยอมรับและรู้จักอย่างกว้างขวางบนเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากมีภาพลักษณ์ของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ทางการปฏิรูป อีกทั้งยังมีประสบการณ์ในการทำงานกับองค์การสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี นาง Ellen ยังคงมีฐานความนิยมทางการเมืองในไลบีเรียน้อย

 


อันดับที่ 6 Sheik Hasina Wajed
Sheik Hasina Wajed นายกรัฐมนตรีของประเทศบังคลาเทศ

 


อันดับที่ 5 Angela Merkel
แมร์เคิ่ล มีชื่อเต็มว่า อังเกลา โดโรเธีย คาสเนอร์ เกิดเมื่อปี 1954 ในเมืองฮัมบวร์ก มี คุณพ่อเป็นนักบวชศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ คุณแม่เป็นครู หลังจากเกิดได้ไม่นาน คุณพ่อคุณแม่ของเธอได้อพยพไปยังเยอรมนีตะวันออก แมร์เคิ่ลจบดอกเตอร์ด้านฟิสิกส์ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับทฤษฏีควอนตัม พูดคล่องทั้งภาษาเยอรมัน อังกฤษ และรัสเซีย ขอเดาว่าเวลาเจอประธานาธิบดีปูตินของรัสเซีย คงจะพูดรัสเซียกันไฟแล่บเลยทีเดียว ติดอะไรมาน่ะตัว เบี้ยวรึเปล่าจ๊ะ? แมร์ เคิ่ลก้มหน้าก้มตาทำงานวิจัยทดลองของเธอ จนกระทั่งในปลายทศวรรษ 80s ที่เธอเริ่มหันมาสนใจการเมืองบ้าง โดยเธอได้สมัครเป็นสมาชิกกลุ่ม Democratic Renewal ต่อต้านรัฐบาลเยอรมนีตะวันออก หลัง จากกำแพงเบอร์ลินล่มสลาย เมอร์เคิ่ลย้ายมาอาศัยอยู่ในเยอรมันตะวันตก และเริ่มเข้าสู่การเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิกพรรคสหภาพคริสเตียนประชาธิปไตย (CDU) เป็นที่รู้กันดีว่า เฮลมุท โคห์ล นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สนับสนุนเธอเป็นพิเศษ เพราะต้องการฐานเสียงจากเยอรมันตะวันออก แมร์เคิ่ลได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงครอบครัวและผู้หญิง และกระทรวงสิ่งแวดล้อม เป็นรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในยุคนั้น ก้าว กระโดดทางการเมืองของแมร์เคิ่ลมาถึงในปี1999 เมื่อพรรค CDU ต้องเผชิญกับข้อครหารับเงินสนับสนุนพรรคอย่างผิดกฏหมาย ทำให้ชื่อเสียงของนายกรัฐมนตรีโคห์ล, ว่าที่ผู้นำพรรคคนต่อไปอย่าง โวล์ฟกัง ชอยเบิล และนักการเมืองคนอื่นๆ ในพรรคย่ำแย่ไปตามๆ กัน แมร์เคิ่ลจึงกลายเป็นตัวเลือกของสมาชิกพรรคส่วนใหญ่ที่จะฉุดภาพลักษณ์ของ พรรคให้ดีขึ้น เธอได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคในปี 2000 แน่ นอนว่ามีแรงต้านจากนักการเมืองในพรรคไม่น้อย โดยเฉพาะนักการเมืองผู้ชาย แต่จะว่าไปแล้ว แมร์เคิ่ลเจอแรงต้านมาโดยตลอดในหลายๆ ด้าน เช่น เรื่องสถานภาพครอบครัวของเธอ พรรค CDU ซึ่งเป็นพรรคค่อนข้างเคร่งศาสนาคริสต์นิกายแคธอลิก ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องครอบครัวมาก แต่แมร์เคิ่ลนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ เป็นแม่ม่ายหย่าสามี และไม่มีลูก แม้เธอจะแต่งงานใหม่เมื่อปี 1998 แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ภาพลักษณ์ของเธอเข้ากับพรรคอย่าง CDU ได้มากนัก หรือ ข้อครหาว่าเธอเป็นคอมมิวนิสต์ เพราะสมัยเป็นวัยรุ่น แมร์เคิ่ลเคยเป็นสมาชิกองค์กรเยาวชนคอมมิวนิสต์ ที่ชื่อว่า Free German Youth Organization เธอบอกว่าเธอทำไป ก็เพื่อที่จะได้มีที่เรียนในมหาวิทยาลัย โชคดีที่เธอไม่ได้มีตำแหน่งสำคัญอะไรมากในองค์กร ข้อกล่าวหาก็เลยฟังไม่ขึ้น แม้ กระทั่งเรื่องรูปลักษณ์ของเธอก็ตกเป็นขี้ปากของคน สมัยที่แมร์เคิ่ลเล่นการเมืองใหม่ๆ ใครๆ ก็หัวเราะเยาะเธอ ด้วยความที่เธอไม่แต่งตัว ทำผมทรงเชยๆ ใส่ชุดสูทโทรมๆ นักการเมืองมักจะพูดกันลับหลังว่า "โอ๊ย จะคาดหวังอะไรมากกับพวก Ossie (ชาวเยอรมันตะวันออก)" ขนาดหนังสือพิมพ์ยังชอบลงรูปของเธอที่ดูเหมือนว่าเธอเป็นพวกสหายจากลัทธิ คอมมิวนิสต์ ซึ่งเธอไม่เคยเป็น เวลาเจอเรื่องแบบนี้ เธอมักจะตอบกลับว่า "คนที่ฉลาดมีกึ๋น มีเรื่องจะพูด ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสำอางค์หรอก" <<< แต่ถ้าพูดถึงเรื่องการแต่งตัวนั้น ก็ต้องบอกว่า ตั้งแต่เธอได้เป็นตัวแทนเข้าลงชิงชัยตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2005 รูปลักษณ์ของแมร์เคิ่ลก็เปลี่ยนไป เธอจ้างสไตลิสต์ เปลี่ยนทรงผมและการแต่งตัวของเธอใหม่ รวมทั้งเริ่มแต่งหน้าด้วย กลายเป็นแมร์เคิ่ลนิวลุค ที่ถ้าเอารูปในอดีตมาเทียบกับปัจจุบันแล้ว ต้องบอกว่าเปลี่ยนไปแทบเป็นคนละคนเลยทีเดียว

 


อันดับที่ 4 Dalia Grybauskaite
Dalia Grybauskaite ประธานาธิบดีลีทัวเนีย

 


อันดับที่ 3 Cristina Fernández de Kirchner
คริสติน่า เป็นชื่อที่คนอาร์เยนติน่ารู้จักเธอชื่อเต็มคือ Cristina Elisabet Fernández de Kirchner เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1953 ที่เมือง La Plata จังหวัดบัวโนส ไอเรส หรือเกิดได้ 7 เดือน ต่อมา เอวิต้า เปรอง อดีตภรรยา(คนที่สอง)ของประธานาธิบดีฮวน เปรอง ก็ถึงแก่กรรม คริ สติน่าเป็นสตรีหมายเลขหนึ่งที่ดูดี เพราะเคยกล่าวว่าการมีรูปร่างดีจะทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้พบเห็น ในฐานะนักการเมืองในช่วง 2 เดือนก่อนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเธอเดินทางไปยุโรปและสหรัฐอเมริกาเพื่อ พูดให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนในประเทศอาร์เยนติน่า เครดิตของเธอดีถึงขนาดว่าประธานาธิบดีฮิวโก้ ชาเวซ แห่งเวเนซูเอล่าผู้ร่ำรวยด้วยน้ำมันดิบยอมยืดอายุเงินกู้ 5 พันล้านดอลลาร์แก่อาร์เยนติน่าออกไปอีก อาร์เยนติน่ามีสตรีคนที่สองที่เป็นประธานาธิบดี คนแรกในช่วง 1974 เมื่ออิสาเบล เปรอง(Isabel Peron)รองประธานาธิบดีขึ้นครองตำแหน่งแทนสามีนายพลฮวน เปรอง เมื่อเขาถึงแก่กรรม แต่อิสาเบลไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งเหมือนคริสติน่า

 


อันดับที่ 2 Johanna Sigurdardottir
Johanna Sigurdardottir เป็นชาวไอส์แลนด์ เกิดที่เมือง Reykjavik ศึกษาที่ Commercial College of Iceland หลังจบการศึกษาได้ทำงานเป็น แอร์โฮส์ทเตส ที่สายการบิน Loftleiðir แต่เธอไม่หยุดยั้งชีวิตเพียงเท่านั้นเธอได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับ องค์กร และสมาคมผู้ใช้แรงงาน และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนในปี 1978 ในนามพรรค Social Democratic Party และต่อมาในปี 1984 เธอได้รับการโหวตให้เป็นหัวหน้าพรรค และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกหลายตำแหน่ง ในปี 2008 ไอส์แลนด์ประสบณ์วิกิตการทางการเงินขั้นรุนแรง จนเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ต้องขอรับการช่วยเหลือ จาก IMF ทำให้นายกรัฐมนตรี Geir Haarde และคณะรัฐมนตรีของไอส์แลนด์ต้อง แสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกทั้งคณะ ทำให้ Johanna Sigurdardottir ก้าวขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน โดยชีวิตส่วนตัวของ Johanna Sigurdardottir ได้เปิดเผยตัวว่าิเป็นพวกรักรุ่วมเพศ ( หญิงรักหญิง ) และได้ทำการแต่งงานถูกต้องตามกฎหมายกับแม่หม้ายลูกติดนามว่า Jonina Leosdottir

 


อันดับที่ 1 Julia Eileen Gillard

จูเลีย ไอลีน กิลลาร์ด (อังกฤษ: Julia Eileen Gillard) เกิดเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1961 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของออสเตรเลีย และเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ถือเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงของแรกและเป็นคนแรกที่ยังไม่เคยสมรสมาก่อน[1] กิลลาร์ดได้รับเลือกเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในฐานะผู้แทนของเขตเลือกตั้งลา เลอร์ ในปี ค.ศ. 1998 จากนั้นในปี ค.ศ. 2001 หลังจากที่พรรคแรงงานพ่ายแพ้การเลือกตั้ง เธอได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของคณะรัฐมนตรีเงาในตำแหน่งรัฐมนตรีเงา กระทรวงประชากรและการอพยพย้ายถิ่น ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 2006 เธอได้เป็นรัฐมนตรีเงากระทรวงสาธารณสุข ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 ภายใต้รัฐบาลของเควิน รัด เธอเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของออสเตรเลีย พร้อมตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม ในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2010 เธอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของออสเตรเลีย

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : http://www.toptenthailand.com

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ 10 อันดับผู้นำหญิงของโลก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook