วิธีการเลี้ยงกระต่ายสำหรับมือใหม่เริ่มหัดเลี้ยง

วิธีการเลี้ยงกระต่ายสำหรับมือใหม่เริ่มหัดเลี้ยง

วิธีการเลี้ยงกระต่ายสำหรับมือใหม่เริ่มหัดเลี้ยง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

 

วิธีการเลี้ยงกระต่าย

วิธีการ เลี้ยงกระต่ายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับการเลี้ยงและพัฒนาพันธุ์ กระต่าย ถ้าเราอยากให้ กระต่ายของเราสมบูรณ์ แข็งแรง น่ารัก เราก็ต้องมาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของกระต่ายเสียก่อน ว่าเค้าชอบอะไรไม่ชอบอะไร อะไรทานได้ อะไรทานไม่ได้ เราถึงจะได้ดูแลเค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อาหารสำเร็จรูป หญ้า ผัก ผลไม้และน้ำ รวมถึงวิธีการให้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เลี้ยงจะต้องรู้เป็นอย่างดี

ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้กระต่ายมีความสุขและมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ น้ำเป็นโภชนาการ ที่สำคัญที่สุด น้ำที่สะอาด และเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงจะละเลยไม่ได้ จึงแนะนำว่าควรเปลี่ยนน้ำเช้า-เย็น นอกจากนี้ อาทิตย์หนึ่งๆ ควรมีสักวันหยดวิตามินรวม น้ำสีแดงๆ ให้กระต่ายสัก 2-3 หยด ต่อน้ำครึ่งลิตร เพื่อให้กระต่ายได้รับ วิตามิน บางตัว ที่ไม่มีในอาหาร เช่นวิตามินบี ซีและเค การผสมวิตามินลงในน้ำ สามารถช่วยลดอาการเครียด และเป็นผลดีต่อกระต่ายแม่พันธุ์ ที่ผสม ติดต่อกัน หลายครอก

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระต่ายและโดยเฉพาะในกระต่ายขน น้ำจะช่วยให้ขนกระต่าย มีคุณภาพ ที่ดี จำไว้ว่าลิ้นของกระต่ายค่อนข้างไวต่อรสชาติของน้ำที่เปลี่ยนไป และในบางครั้งเค้าอาจจะไม่ยอมดื่มน้ำที่แปลกกว่าที่เคยทาน แม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น ที่กระต่ายขาดหรือไม่ยอมทานน้ำ แต่สิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิด เมตาโบลิซึมของการสร้างขน ที่เปลี่ยน แปลงไป ซึ่งอาจจะทำให้ขนกระต่ายพันกันได้ อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนพอเหมาะ เป็นสิ่งจำเป็นต่อ การเจริญเติบโตและสุขภาพของกระต่าย กระต่ายทั่วไปมีความต้องการโปรตีน 14-17 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2-4 เปอร์เซ็นต์ และไฟเบอร์ อย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์

โดยทั่วไปอาหารเม็ดสำเร็จรูปตามท้องตลาดมักจะมีอัตราส่วนอย่างพอเหมาะอยู่ แล้ว และยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นเช่น วิตามินและเกลือแร่ แต่ผู้เลี้ยงสามารถผสมหรือให้ผักผลไม้อื่นๆเพิ่มเติมอีกได้ โดยสามารถให้อาหารกระต่ายทุก 12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ฉะนั้นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการให้อาหารคือในช่วงเช้าตรู่และตอนหัวค่ำ กระต่ายเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนควรจะได้รับอาหารเม็ดอย่างพอเพียง อาหารเม็ดใหม่ๆและเปลี่ยนทุกวัน เช้าเย็น ควรจะมีไว้ตลอด อย่าให้ขาด

เมื่อกระต่ายอายุมากขึ้น การจำกัดอาหารตามปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัญหาหลักของการ ให้อาหาร กระต่ายก็คือการให้อาหารมากเกินไป ถ้าเราให้อาหารเค้ามากเกินไป กระต่ายจะอ้วนและไม่แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลโดยตรง กับการผสมพันธุ์ติดยาก เพราะฉะนั้น แม้ว่ากระต่ายจะทานอาหารทั้งหมดที่ท่านให้ แต่ก็ต้องจำกัดอาหารอย่างเคร่งครัด

 

 

สูตรง่ายๆ ของการให้อาหารเม็ด คือ ให้อาหาร 50 กรัมต่อน้ำหนักกระต่าย 1 กิโลกรัม ต่อวัน สำหรับผักที่เหมาะสำหรับกระต่าย มีหลายอย่างเช่น ใบกะเพรา (ป้องกันกระต่ายท้องอืด) ผักกาดหอม ถัวฝักยาว และผักบุ้งไทย ส่วนผักบุ้งจีนไม่สมควรให้เพราะว่ามียางเยอะ ซึ่งอาจจะ ทำให้ กระต่ายท้องเสียได้ มีข้อสังเกตง่ายๆ ผักสีเขียวเข้มทานได้ ผักสีเขียวอ่อนควรหลีกเลี่ยง อาหารเสริม เช่น ข้าวโอ๊ต เมล็ดทานตะวัน (ช่วยบำรุงขน) โดยเฉพาะข้าวเปลือก ซึ่งมีวิตามินบี เพื่อช่วยให้พ่อพันธุ์สมบูรณ์พันธุ์ก่อนผสม

โรคต่างๆของกระต่าย

โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากโรค ต่างๆ ที่ผู้เลี้ยงนั้น ขาดความรู้และ ประสบการณ์ อาจจะไม่ได้ศึกษาถึงปัญหาต่างๆ สำหรับ การเลี้ยง กระต่ายมา โดยผู้เลี้ยง ทุกๆท่านควรที่จะ รู้ ถึงโรคต่างๆ หรือ สาเหตุต่างๆที่ทำใ้ห้เกิดโรค ทั้งนี้เพื่อป้องกัน และ ลดปัญหา การตาย ของกระต่ายได้ โรคของกระต่ายนั้นมีสาเหตุการเกิดที่หลายอย่าง อาจจะเกิดจาก เชื่อต่างๆเช่น เชื่้อไวรัส แบคทีเรีย เิกิดจากเชื้อรา เกิดจากตัวปรสิต หรือแม้กระทั้งที่เกิดจาก การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทางกรรมพันธุ์

การสังเกต ดูว่ากระต่ายเรานั้นเป็นโรคหรือไม่

ผู้เลี้ยงควรที่จะรู้จักกระต่าย ทั้ง ลักษณะร่างกาย ลักษณะ ทางธรรมชาติ โดยปกติ ของเขา เพราะเมื่อไหร่ที่ เขามีความผิดปกติ ไม่ว่า จะเป็น ทางร่างกายด้านภายนอก ร่างกาย หรือ ทางด้านภายใน ทั้งนี้ก็เพื่อที่เรา จะสามารถหาทางแก้ไขป้องกัน หรือ รักษาได้ทัน

โดยปกติ กระต่ายที่มีสุขภาพที่ดีจะต้องอ้วนและมีเนื้อเต็มทุกส่วน ไม่มีแผล เม็ด หรือ ตุ่ม เกิดขึ้นบริเวณร่างกาย ขนต้องฟูตามธรรมชาติ หรือ ไม่หลุดเป็นก้อนๆ หย่อมๆ ซึ่งกระต่ายอาจจะมีขนหลุดร่วงบ้าง สำหรับการผลัด ขนของกระต่าย แต่ไม่ควรที่จะร่วงมากจนผิดปกติ ดวงตา ของกระต่ายนั้นจะต้องสดใส ร่าเริง น้ำหนักตัวต้องไม่ลด เพราะว่ากระต่ายที่ เป็นโรค มักจะมีน้ำหนักตัวที่ลดลงเรื่อยๆ และ ผอมลงเรื่อยๆ และ เบื่ออาหาร เป็นหนอง หรือ มีน้ำมูกที่บริเวณจมูก


ขอบคุณข้อมูลจาก ecarddesignanimation.com
ขอบคุณภาพประกอบจาก Photos.com

อ่านเรื่องอินเทรนด์ คลิก!!

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook