อาการสูญเสียน้ำในสุนัข

อาการสูญเสียน้ำในสุนัข

อาการสูญเสียน้ำในสุนัข
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"อาการสูญเสียน้ำในสุนัข" เกิดขึ้นเมื่อร่างกายของสุนัขขับน้ำออกมามากกว่าปกติ โดยทั่วไปแล้วจะเกี่ยวกับการเสียทั้งน้ำและอิเล็คโทรไลส์ ซึ่งมีสารอย่างโซเดียม คลอไรด์ และโปตัสเซียม การเกิดสูญเสียน้ำในร่างกายมากอาจจะเป็นสาเหตุทำให้สุนัขเกิดอันตรายได้

 


เมื่อมีน้ำให้ร่างกายใช้งานไม่เพียงพอ ของเหลวในเซลล์ร่างกายจะถูกนำมาใช้แทน ทำให้เซลล์ขาดน้ำ นำไปสู่อาการขาดน้ำ ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการสูญเสียน้ำนั้นจะขึ้นอยู่กับความต้องการน้ำของร่างกายเป็นสำคัญ การสูญเสียน้ำสามารถเกิดขึ้นจากการทานอาหารและน้ำไม่เพียงพอ หรือการที่ร่างกายขับน้ำออกมามากผิดปกติเนื่องจากอาการเจ็บป่วยและร่างกายได้รับบาดเจ็บ

สัญญาณเตือน
สัญญาณของอาการขาดน้ำนั้น ประกอบไปด้วย ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น แห้ง มีอาการซึมเศร้า ตาลึกโบ๋ เหงือกแห้ง หัวใจเต้นเร็ว และส่งผลให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายทำงานผิดปกติ ลำเลียงเลือดจากเส้นเลือดดำไปเส้นเลือดแดงได้ช้า

การรักษา
การรักษาอาการสูญเสียน้ำก็ต้องให้น้ำเข้าไปในร่างกายสุนัข แต่ในสัตว์ที่ป่วยมากๆแล้ว เขาอาจจะไม่สามารถทานน้ำเข้าไปเองได้โดยตรง บางครั้งจึงอาจจะต้องมีการให้น้ำเกลือแทน เช่นนี้ทางที่ดีที่สุดในการรักษาก็คือ ให้อยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์ เมื่อมีของเหลวเข้าไปในร่างกายทดแทนส่วนที่ขาดไปได้มากเพียงพอแล้ว ร่างกายก็จะค่อยๆดีขึ้นอย่างช้าๆ

ดูแลและป้องกัน
ในการดูแลสุนัขที่มีอาการสูญเสียน้ำ ทางเดียวที่ทำได้ก็คือ เมื่อสุนัขมีอาการ คุณควรรีบพาเข้าไปพบสัตวแพทย์โดยทันที และหลังจากที่พาเขากลับมาบ้านแล้วควรทำตามคำแนะนำที่คุณหมอให้อย่างเคร่งครัด ในสุนัขบางตัวคุณอาจจะฉีดยาให้เขาเองได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับคำแนะนำของคุณหมอเป็นสำคัญ
คุณต้องแน่ใจว่าน้องหมาของคุณทานอาหารและน้ำอย่างปกติ ซึ่งนั่นเป็นวิธีการที่ดีที่สุดไม่ให้เกิดอาการสูญเสียน้ำเกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ต้องรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด แล้วทุกอย่างก็จะค่อยๆดีขึ้น

เตรียมคำตอบเวลาพบคุณหมอ
ประวัติของสุนัขเป็นเรื่องสำคัญมาก เป็นเรื่องที่เจ้าของสุนัขต้องตอบให้ได้ เพราะสัตวแพทย์จะสอบถามเพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยโรค เช่นนี้คุณเจ้าของควรเอาใจใส่ในพฤติกรรมของสุนัขให้มาก ทั้งนี้คำถามที่คุณหมอมักจะถามก็มีดังนี้

1. พฤติกรรมการทานอาหารและน้ำของสุนัข

2. การอาเจียนและท้องเสียของสุนัขมีหรือไม่

3. สุนัขปัสสาวะมากและบ่อยกว่าปกติหรือเปล่า

4. มีน้ำลายไหลเยอะไหม

5. นานแค่ไหนแล้วที่สุนัขป่วย หรือมีท่าทางที่ไม่สู้ดี เจ้าของสุนัขต้องให้ข้อมูลกับคุณหมอให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะข้อมูลดังกล่าวมีผลอย่างมากในการตรวจวินิจฉัยโรค

 

เรื่องน่าอ่านมีอีกเพียบคลิก!

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook